สะพานโค้งชะอวด

เมื่อพูดถึง สะพานโค้งชะอวด คนอำเภอชะอวดคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก สะพานโค้งก็คือสะพานรถไฟข้ามคลองชะอวด อยู่เลยมาจากสถานีรถไฟชะอวดไปหน่อยเดียว ซึ่งปัจจุบันได้มีสะพานทุ่นลอยน้ำข้ามคลองชะอวด ซึ่งคู่ขนานกับสะพานโค้ง สามารถทำให้ข้ามคลองได้อย่างสะดวกระหว่างตำบลชะอวดกับตำบลท่าเสม็ด หลายคนนิยมมาถ่ายรูปกับสะพานโค้ง ถือเป็นแลนค์มารค์แห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ยังสามารถชมพระอาทิตย์ตกดินกลางคลองชะอวดได้อีกได้ ว่าแล้วเราก็มีภาพบรรยากาศมาให้ได้ชมกัน

พานโค้งชะอวด

สะพานทุ่นลอยน้ำ ชะอวด

 

อาทิตย์ตกที่คลองชะอวด

พระอาทิตย์ตกคลองชะอวด

บรรยากาศค่ำคืน สะพานโค้ง

 

      “สะพานโค้งชะอวด” คือสะพานรถไฟที่สร้างข้ามฝั่งคลองชะอวดในช่วงหมู่ที่ ๑ ตำบลชะอวด และหมู่ที่ ๗ ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ชาวบ้านเรียกว่า“สะพานโค้ง” เป็นสะพานแบบ “ ๑ x ๘๐ Truss Bridge กม. ที่ ๘๐๖.๕๙ อันหมายถึง ๑ ช่วง สะพาน ความยาวของคานเหล็ก ๘๐ เมตร ตรงจุดที่ ๘๐๖.๕๙ กิโลเมตร สร้างขึ้นมาพร้อมกับเส้นทางรถไฟสายใต้ ช่วงทุ่งสง – พัทลุง ในสมัย ร. ๕ ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลสยามหาแหล่งเงินกู้และกำลังให้เยอรมันเป็นผู้ก่อสร้าง เกิดมีกระแสข่าวว่า “อังกฤษทำสัญญากับฝรั่งเศสอย่างลับๆ จะเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขตโดยให้ฝรั่งเศสยึดดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาและภาคอีสานทั้งหมดไปรวมกับลาวและเขมร ส่วนฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้งภาคใต้ อังกฤษจะยึดไปรวมกับมาลายู สิงคโปร์ และพม่า” เมื่อเหตุการณ์ผันแปรและสุ่มเสี่ยงเช่นนี้ รัฐบาลสยามจึงจำเป็นต้องผ่อนปรนให้อังกฤษเป็นผู้สร้างทางรถไฟสายใต้นี้แทนเยอรมัน พร้อมกับขอกู้เงินจำนวน ๔ ล้านปอนด์สเตอร์ลิงค์ หรือ) ประมาณ ๔๔ ล้านกว่าบาท เพื่อแลกกับสิทธิครอบครองเหนือดินแดน กลันตัน ตรังกานูไทรบุรีและปะลิสให้กับอังกฤษ โดยฝ่ายไทยส่งพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าบุรฉัตรไชยการ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน (ยศในขณะนั้น) ซึ่งสำเร็จวิศวกรรมรถไฟจากเยอรมัน เป็นวิศวกรร่วมก่อสร้าง ฉะนั้นปัจจุบันจะเห็นรูปฉัตร ๓ ชั้น และพระนาม “บุรฉัตร” ติดอยู่ที่หัวรถจักรรถไฟทุกคันเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระองค์ท่าน
ในการปักเขตเส้นทางตั้งแต่ชุมพรลงมา ถึงมณฑลปัตตานีครั้งนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) จางวางเมืองไชยา เป็นหัวหน้าคณะสำรวจเพราะเป็นผู้ที่มีความชำนาญในภูมิประเทศพื้นที่หัวเมืองปักษ์ใต้อย่างดีและเส้นทางรถไฟช่วงนี้เริ่มตั้งแต่ทุ่งสงตัดข้ามบ้านช่องเขาทับไปบนเส้นทางเดินโบราณ จากฝั่งทะเลอันดามันไปสู่ฝั่งอ่าวไทย ในเขตร่อนพิบูลย์ เมื่อถึงช่องเขาต้องเจาะอุโมงค์เพื่อลดระยะทางลงสู่ที่ราบฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหลวง หรือเทือกเขานครศรีธรรมราช และเมื่อถึงเขาชุมทองก็หักเลี้ยววกลงไปทางทิศใต้สู่พัทลุงอันมียอดเขา “อกทะลุ” เป็นที่หมายตา (Land Mark) ระยะทาง ๘๙ กิโลเมตร การสร้างทางรถไฟช่วงนี้นั้นสำคัญที่สุด ยากลำบากที่สุดและทุรกันดารมากที่สุดของสายใต้ เพราะต้องเจาะหินบริเวณบ้านช่องเขาให้เป็นอุโมงค์ ซึ่งจะต้องใช้คนงานกรรมกรวันละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ – ๓๐๐ คน นายช่างวิศวกรต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ ดังคำบันทึกของ ขุนนิพัทธ์ จีระนคร (เจียกีซี) ผู้ตรวจการและผู้จัดการทั่วไปของบริษัทผู้รับเหมาสร้างทางรถไฟสายนี้ว่า “การขุดเจาะอุโมงค์ลอดเขานั้น มีหลายบริษัทต้องทิ้งงานไปเพราะบริเวณนี้เป็นป่าทึบทุรกันดารมาก มีไข้ป่าชุกชุม คนงานกรรมกรรุ่นแล้วรุ่นเล่านับเป็นร้อยๆ ต้องประสบกับการเจ็บป่วยและเสียชีวิตไป” ประกอบกับปักษ์ใต้ขณะนั้นพลเมืองมีจำนวนน้อย จึงต้องอาศัยแรงงานกรรมกรจากต่างถิ่น โดยเฉพาะชาวจีนคือถางป่าเป็นแนวกว้างประมาณ ๑ เส้น หรือ ๔๐ เมตร เพื่อเป็นแนวลงดินและหินสำหรับวางรางเหล็กจึงต้องแบ่งงานกันเป็นช่วงๆ ละ ๓๐ กิโลเมตร แต่ละช่วงมีโรงงานเก็บวัสดุอุปกรณ์และที่พักของคนงานประมาณ ๘–๑๐ หลัง กรรมกรแบ่งงานกันทำคือ จีนแคะทำหน้าที่บุกเบิกถางป่า จีนแต้จิ๋วทำหน้าที่ขุดโกยดินถมทางให้สูงประมาณ ๔.๕ เมตร จีนกวางตุ้งทำหน้าที่โรยหินบนดินที่ถมไว้ให้ได้ระดับ เพื่อวางไม้หมอนและรางต่อไป แต่บางครั้งก็เกิดปัญหาเนื่องจากภาคใต้เป็นเขตมรสุมเมื่อถึงฤดูฝน ฝนตกน้ำท่วมหรือไม่ก็เกิดน้ำป่ากัดเซาะเส้นทางที่จัดทำไว้เรียบร้อยแล้วพังทลายลงอีก หรือบางครั้งโขลงช้างป่าเหยียบย่ำทำลายแนวคันดิน วัสดุการก่อสร้าง ผลักทำลายไม้หมอน โรงร้านและโรงเรือนที่พักคนงานล้มระเนระนาด โดยเฉพาะเส้นทางระหว่างชะอวด- ป่าพะยอม-ควนขนุน-และพัทลุง เพราะการสร้างเส้นทางรถไฟช่วงนี้ไปขว้างทางเดินหากินตามธรรมชาติของโขลงช้างระหว่างเทือกเขาบรรทัดกับบริเวณที่ราบลุ่มน้ำ ควนเคร็ง ทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา คนงานก็ต้องเริ่มงานกันใหม่อีก
ส่วนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ อาศัยแม่น้ำปากพนัง คลองเชียรและคลองชะอวดในการลำเลียงขนส่งโดยมีเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่มาจอดทอดสมอบริเวณอ่าวไทยแล้วขนถ่ายลงเรือขนาดกลาง ขนาดย่อมล่องไปตามแม่น้ำปากพนัง คลองเชียรและคลองชะอวด มาขึ้นฝั่งที่ชะอวด แล้วลำเลียงทางบกไปยังบ้านทุ่งค่าย ซึ่งมีคลังเก็บวัสดุขนาดใหญ่ตั้งอยู่ แล้วขนส่งต่อไปยัง บ้านตูล เขาชุมทองและร่อนพิบูลย์ ส่วนด้านทิศใต้ลำเลียงไปยัง บ้านนางหลง บ้านขอนหาด แหลมโตนดและปากคลอง
สำหรับโครงสร้างสะพานเหล็กที่ชะอวดนั้น ทำสำเร็จมาจากต่างประเทศ บรรทุกเรือล่องมายังแม่น้ำปากพนังถึงชะอวดบริเวณที่เส้นทางรถไฟตัดผ่านก็ใช้ปั้นจั่น หรือเครน (Crane) ขนาดใหญ่ยกขึ้นครอบประกบลงบนคอสะพาน ซึ่งนายช่างวิศวกรได้ คำนวณไว้ตามแบบที่เขียนไว้ก่อนแล้วประกอบเข้าเป็นโครงทรัส หรือโครงสะพานตามที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน เส้นทางรถไฟช่วงนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ เสร็จและเปิดใช้ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ ดังนั้นขณะนี้สะพานโค้งชะอวด มีอายุยืนยาว ๑๐๐ ปี มาแล้ว ช่วงระยะเวลาหนึ่งร้อยปีดังกล่าว ได้ผ่านการใช้งานบริการขนส่งผู้คน สินค้า และในยามเหตุการณ์ไม่ปกติเกี่ยวกับความมั่นคงประเทศ เช่นในภาวะสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๘ สะพานแห่งนี้ยังเป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ตลอดมา ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธใดๆ ทั้งสิ้นและเคยซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ปัจจุบันยังคงยืนหยัด โดดเดี่ยวสูงดำทะมึน ท้าแดดลมฝนผ่านมาหนึ่งศตวรรษแล้ว
ชาวชะอวดต่างภาคภูมิและพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่านี่คือ “ ๑๐๐ ปี สะพานโค้งชะอวด” เป็นสะพานแห่งมิตรภาพ เป็นสะพานแห่งความปลื้มปีติยินดี เป็นสะพานแห่งสัญลักษณ์และเป็นเครื่องหมายตา ( Land Mark ) ของอำเภอชะอวดและผู้คนทั่วไป โดยปริยาย ดังคำเปรียบเปรยไว้ว่า
“สะพานโค้งชะอวดเป็นสะพานมานานปี บัดนี้ยังบริการมานานเหลือ
รับใช้ชนขนส่งขึ้นลงทุกเมื่อ ทั้งใต้เหนือออกตกไม่บกพร่อ
เคยซ่อมสร้างมาบางครั้งยังปรากฏ ปีกำหนดนั้นสองพันห้าร้อยสิบสอง
ตั้งโดดเด่นเห็นสง่าขวางลำคลอง ทะมึนมองเป็นสัญลักษณ์แก่นักเดิน
ทาง”

(จากหนังสือสารนครศรีธรรมราช ปีที่ ๔๕ ฉบับที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๘/ผจญ มีจิตต์)

  

หนานเรือ หนานครก

 ลานกางเต๊นส์หนานเรือ หนานครก มาเล่นน้ำ ชมธรรมชาติที่สวยงาม แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ตำบล เขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

หนานเรือ หนานครก

เที่ยวชะอวดหนานเรือ หนานครก

หนานเรือ หนานครก เที่ยวชะอวด

เที่ยวเขาพระทอง

การเดินทาง

ชมทะเลหมอก ณ ลานกางเต้นท์ควนห้วยเขต บ้านท่าข้าม อำเภอชะอวด

      ชุมชนบ้านท่าข้าม ลานกางเต๊นส์ควนห้วยเขต จุดชมวิว อ จุฬาภรณ์ ร่อนพิบูลย์ หัวไทร ชะอวด และทุ่งสง เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ สัมผัสอากาศเย็น สายหมอก เรื่องเล่าสหายเก่า หลุมระเบิดจากสงครามกลางเมือง วิถีชาวเขาชาวควน ชมพระอาทิตย์ตก-ขึ้น ที่นี้ เมืองชะอวดเปิดมิติการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของคนชะอวด ทะเลหมอกช่วงเดือนธันวาคม- มกราคม และช่วงฝนตก

เที่ยวทะเลหมอกชะอวด บ้านท่าข้าม

 

ลานกางเต้นท์ควนห้วยเขต บ้านท่าข้าม

ทะเลหมอกชะอวด

 

วิวทะเลหมอกชะอวด

เขาท่าข้าม ควนหนองหงส์

 

เขาท่าข้าม จุดชมวิวทะเลหมอกชะอวด 

การเดินทาง: ไปทางเส้นควนหนองหงษ์-กระปาง ไปจากควนหนองหงษ์ทางขึ้นจะอยู่ท่างขวามือ บริเวณศาลา

 

 

อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส

ห้วยน้ำใส มุมสูง,ชะอวด,เที่ยวชะอวด

      อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส หรือเขี่อนห้วยน้ำใส ตั้งอยุ่หมู่ที่ 5 ตำบลวังอ่าง  อำเภอชะอวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช และหมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยภูเขามากมาย บรรยากาศดี วิวสวย น้ำใสสะอาด

อาณาเขต  เริ่มก่อสร้าง  เริ่มดำเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ  2534  แล้วเสร็จปีงบประมาณ 2539 ระยะเวลาก่อสร้าง  5  ปี

วัตถุประสงค์ของการก่อสร้าง

1.      เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับสนับสนุนโครงการคลองไม้เสียบ  ซึ่งมีพื้นที่โครงการฯ 35,500 ไร่และสามารถขยายพื้นที่โครงการฯ ได้อีก  18,000  ไร่

2.      เพื่อป้องกันหรือบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ในเขตอำเภอชะอวด  ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในฤดูร้อน

3.      เพื่อป้องกันหรือบรรเทาปัญหาน้ำเค็ม  เนื่องจากน้ำทะละหนุนในลุ่มน้ำปากพนังในฤดูแล้ง

4.      เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค –บริโภค ในบริเวณใกล้เคียงอ่างเก็บน้ำฯ

พื้นที่ได้รับประโยชน์  เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการฯ  53,500  ไร่  โดยสามารถให้ประโยชน์แก่พื้นที่ ในเขต  3  ตำบล ได้แก่

1.      ตำบลลานข่อย  อำเภอป่าพะยอม  จังหวัดพัทลุง

2.      ตำบลเกาะขันธ์  อำเภอชะอวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช

3.      ตำบลชะอวด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

กิจกรรมอื่น  ไม่อนุญาตให้สร้างสิ่งก่อสร้างในลำน้ำ (ในอ่างฯ)

ห้วยน้ำใส ชะอวด

ห้วยน้ำใส.อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส,ชะอวด,ภาพมุมสูง

 

ห้วยน้ำใสมุมสูง,ชะอวด,อ่างเก็บน้ำชะอวด

 

 

การเดินทางไปห้วยน้ำใส

แผนที่ห้วยน้ำใส,ห้วยน้ำใส

มุ่งหน้าทางใต้ ไปยังถนนหมายเลข 4018

ตาม ถนนหมายเลข 4018 และ ถนนหมายเลข 41 มุ่งไปตำบล เกาะขันธ์

ใช้ ถนนหมายเลข 4270 ไปยังจุดหมายของคุณที่ ตำบล ลานข่อย